เมนู

ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง 38 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐาน
ความเพียรมีองค์ 4 ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงทำให้แจ้งวิชชา 3 ในยาม
ทั้ง 3 ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม ทรง
ตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิ
ซึ่งบวชกับพระองค์ ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น. ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม เป็นยอดของสัตว์สอง
เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ
ก็ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้
ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มี
พระเดชที่ชั่งไม่ได้ อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่อง
ลอยความมืดอย่างใหญ่ มี 3 ครั้ง.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมํ สีลํ ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีล
ของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก
ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้. ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็น

ในยมกปาฏิหาริย์เปิดโลกเป็นต้น. บทว่า ญาณวรํ ได้แก่ พระสัพพัญญุต-
ญาณ หรือพระอสาธารณญาณทั้งหลาย. บทว่า วิมุตฺติปิ ได้แก่ แม้พระ-
อรหัตผลวิมุตติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนูปมา ได้แก่ เว้นที่จะ
เปรียบได้. บ่ทว่า อตุลเตชสฺส ได้แก่ ผู้มีพระเดชคือญาณอันชั่งมิได้.
ปาฐะว่าอตุลญาณเตชา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเชื่อมความกับบทหลัง
นี้ว่า ตโย อภิสมยา. บทว่า มหาตมปวาหนา ได้แก่ ยังโมหะใหญ่ให้
พินาศ อธิบายว่า กำจัดความมืดคือโมหะ.
สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมทรงให้สาลกุมารและอุปสาลกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์บรรพชาในสมาคมพระประยูรญาติ พร้อมทั้ง
บริวาร เมื่อทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ดื่ม
อมตธรรม ก็ครั้งที่ทรงแสดงธรรมโปรดพระธัมมเถระ อภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์
แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ 1 พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิ
ให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ 2 พระจอมปราชญ์ทรงยัง
สัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งที่พระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ
โกฏิ.

ครั้งนั้น พระเจ้าสุภาวิตัตตะ มีราชบริพารแสนโกฏิ ทรงผนวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระปทุมพุทธเจ้า ผู้มีพระพักตร์ดังดอก
ปทุมบาน. ในสันนิบาตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ 1.

สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ
ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้-
มีพระภาคเจ้า จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ชนเหล่านั้น. มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช แต่นั้น
พระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากันภิกษุเหล่านั้น และภิกษุสามแสน
อื่น ๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น ชน
เหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ 5 ในวัน
ปาฏิบท 5 เดือน. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ พระธรรม
เสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน ได้ถวายกฐินจีวร
แก่พระสาลเถระนั้น. เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ. ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงร้อยด้าย
เข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไป
พร้อมด้วยภิกษุสามแสน.
สมัยต่อมา พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความ
องอาจดังราชสีห์ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมี
ผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริ-
บูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน เป็นที่สัญจร
ของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น อันฝูง
แมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูง ๆ
โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ
แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง สงัดปราศจากผู้คน เหมาะ
แก่การประกอบความเพียร. พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวาร
ประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว

ฟังธรรมของพระองค์ก็เลื่อมใส พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. ครั้งนั้น
พระองค์อันภิกษุสองแสนแวดล้อมแล้วก็ทรงปวารณาพรรษา นั้นเป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการประชุมภิกษุแสน
โกฏิ.
ในสมัยกรานกฐิน เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ภิกษุ
ทั้งหลายเย็บจีวร เพื่อพระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ไร่มลทิน มีอภิญญา 6
มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้า
จำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้นเป็นการประชุมภิกษุ
สองแสนโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฐินตฺถารสมเย ได้แก่ ในสมัย
กรานกฐินจีวร. บทว่า ธมฺมเสนาปติตฺถาย ได้แก่ เพื่อพระสาลเถระ
พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อปราชิตา ได้แก่ น ปราชิตา อันใคร ๆ
ให้แพ้ไม่ได้. พึงเห็นว่า ลบวิภัตติ. บทว่า โส ได้แก่ พระปทุมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. บทว่า ปวเน แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า วาสํ ได้แก่ อยู่
จำพรรษา. บทว่า อุปาคมิ แปลว่า เข้า. บทว่า ทฺวินฺนํ สตสหสฺสินํ
แปลว่า สองแสน. ปาฐะว่า ตทา อาสิ สมาคโม ดังนี้ก็มี. ผิว่า มีได้
ก็ดี.